บริการ..พิเศษ

   ส่งซ่อมคอมพิวเตอร์ 
   ส่งรายงานให้ รพ.
 เพิ่มประกาศ สอบราคา/-
      ประกวดราคา/TOR

  ส่งบทความเผยแพร
 เพิ่มวาระประชุม กบห.
  เพิ่ม CPG
  เพิ่มเมนูรับ-จ่ายเงินบำรุง

 

ITA (Integrity and Transparency Assessment)

ข้อมูลพื้นฐาน

  ผู้บริหาร - ประวัติโรงพยาบาล
 นโยบายของผู้บริหาร
 โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
    ตามกฏหมายจัดตั้งหรือ
    กฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
 วิสัยทัศน์ - พันธกิจ - ค่านิยม
 ยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยรวม
 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
 ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวง
    สาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการ
    สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    ปี 2560
 อินโฟกราฟิกคณะกรรมการจริยธรรม
ประจำสนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข
    (MOPH Code of Conduct)
 ขั้นตอนการแก้ปัญหาในกรณีที่มี
    การร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติงาน
    ของเจ้าหน้าที่
 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวง
    สาธารณสุขว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติงาน
    เพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงาน
    ด้านการจัดซื้อจัดจ้างปี 2560
  เข็มมุ่ง
  เครื่องชี้วัดคุณภาพ
  ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  คู่มือการบันทึกและวิเคราะห์ความเสี่ยง
 สมุดเยี่ยม-แสดงความคิดเห็น  
  งานสารบรรณ

 

KM

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
ส่งภาพกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น website
Link โรงพยาบาล
 โรงพยาบาลศรีสะเกษ
 โรงพยาบาลกันทรลักษ์
 โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
 โรงพยาบาลขุนหาญ
 โรงพยาบาลขุขันธ์
 โรงพยาบาลไพรบึง
 โรงพยาบาลโนนคูณ
 โรงพยาบาลศรีรัตนะ
 โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง
Link สาธารณสุขอำเภอ

 สสอ.ราษีไศล
 สสอ.ปรางค์กู่
 สสอ.กันทรารมย์
 สสอ.ขุขันธ์
 สสอ.ขุนหาญ
 สสอ.ภูสิงห์
 สสอ.ศิลาลาด

หน่วยงานราชการ

\\ ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ

สรุปผลการปฏิบัติงาน

ข้อมูลทั่วไป

แผนกผู้ป่วยนอก

แผนกผู้ป่วยใน

ห้องคลอดห้อง-ผ่าตัด

report

CQI: ข่าวอีโคไล
ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล บุคคลทั่วไป บันทึก:
ข่าวเตือนภัยอีโคไล

คำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่อง โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง (Enterohaemorrhagic E.coli O104)

โดย กระทรวงสาธารณสุข
ณ วันที่  6  มิถุนายน 54 เวลา 12.00 น.


ผู้บันทึก admin เมื่อ Monday 27 Jun 11@ 11:07:26 ICT (2139 ครั้ง)
(มีต่อ... | 2912 ไบต์ | CQI | จำนวน: 3)
สรุปผลการตรวจความปลอดภัยด้านอาหาร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2553 – สิงหาคม 2553
ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล บุคคลทั่วไป บันทึก:

สรุปผลการตรวจความปลอดภัยด้านอาหาร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2553 – สิงหาคม 2553

จากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดภายในอำเภอราษีไศล เพื่อเฝ้าระวังสาร ปนเปื้อนในอาหาร พบว่า อาหารสดทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) 100% โดยมีการตรวจหาสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่  ...อ่านต่อ...



ผู้บันทึก admin เมื่อ Tuesday 14 Sep 10@ 09:55:35 ICT (2286 ครั้ง)
(มีต่อ... | 3844 ไบต์ | จำนวน: 4)
บอกบุญ
ข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข บุคคลทั่วไป บันทึก: บอกบุญ ร่วมสร้างพระวิหารหลวงพ่อทอง วัดบ้านด่านนอกดง ต สร้างปี่ อ ราษีไศล จ ศีรสะเกษ

เนื่องในโอกาศอันดี ชาวบ้านผู้มีจิตรศรัทราต่อองค์ หลวงพ่อทอง วัดบ้านด่าน ได้ร่วมกันจัดสร้าง วิหารหลวงพ่อทอง

จึง ขอเชิญพี่น้องชาวราษีทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพ สร้างบุญกุศลครังนี้ ณ วัดบ้านด่านนอกดง ต สร้างปี่

www.prathong.com

ขออนุโมทนาในจิตกุศลของทุกท่าน

ผู้บันทึก admin เมื่อ Tuesday 16 Mar 10@ 16:11:08 ICT (2753 ครั้ง)
(มีต่อ... | 524 ไบต์ | จำนวน: 5)
สรุปผลการตรวจความปลอดภัยด้านอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 – มกราคม 2553
ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล บุคคลทั่วไป บันทึก:  

สรุปผลการตรวจความปลอดภัยด้านอาหาร  ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 มกราคม 2553

                ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลราษีไศล ร่วมกับสถานีอนามัยทุกแห่ง ในเขตอำเภอ   ราษีไศล ได้ร่วมมืออันลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นประจำทุกเดือน ด้วยความห่วงใยถึงความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ทั้งยังให้คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการอยู่เป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอตลอดมา ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ลดความสูญเสียที่เกิดจากการบริโภคของประชาชนลงได้เป็นอย่างมาก และยังเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพของประชากรอีกด้วย

จากการดำเนินการดังกล่าวมาเป็นประจำ เพื่อให้รับรู้ รับทราบ สถานการณ์ปัจจุบันด้านความปลอดภัยของอาหาร ทางคณะทำงานจึงได้สรุปผลการตรวจความปลอดภัยด้านอาหาร ระหว่างเดือน ตุลาคม 2552 มกราคม 2553 ดังนี้

1.ความปลอดภัยด้านอาหารสด

จากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดภายในอำเภอราษีไศล เพื่อเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร  พบว่า อาหารสดทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) 100% โดยมีการตรวจหาสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และกำจัดศัตรูพืข ปัจจุบันคณะทำงานอาหารปลอดภัยได้ออกตรวจสอบสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิดดังกล่าว ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม  ในกรณีของยาฆ่าแมลงถึงแม้จะอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่เพื่อความปลอดภัยในระยะยาว ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการให้ความรู้และผลักดันให้เกษตรกรลดการใช้ยาฆ่าแมลงและลดการตกค้างของสารเคมีในระยะยาว เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตัวเกษตรกรเอง โดยในปีงบประมาณ 2552 ทางคณะทำงานได้ทำโครงการนำร่องเกษตรไร้สารเคมีขึ้น ที่ตำบลส้มป่อย ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจ และจะขยายผลไปยังตำบลอื่นๆ ต่อไป

2.ด้านร้าน / แผงลอย อาหารปรุงสำเร็จ

ร้านอาหารปรุงสำเร็จในอำเภอราษีไศลมีจำนวนทั้งหมด 45 ร้าน ซึ่งปัจจุบันผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ( Clean Food Good Taste ) 41 ร้าน คิดเป็น  91.11% แต่ถึงแม้จะได้ป้าย Clean Food Good Taste จากการประเมินแล้วก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาคือ การขาดตกบกพร่องในการรักษามาตรฐานให้ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาวได้ ดังนั้นทางคณะทำงานจึงควรมีขั้นตอนในเชิงปฎิบัติ ที่จะช่วยกระตุ้นผู้ประกาอบการ ให้หันมาตื่นตัวในการรักษามาตรฐานร้านอาหารต่อไป

รายชื่อร้าน / แผงลอย อาหารปรุงสำเร็จ ที่ผ่านมาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย อยู่ในเอกสารแนบท้าย

3.ด้านตลาดสด

ตลาดสดในอำเภอราษีไศลเป็นตลาดสดประเภทที่ 2 ซึ่งมีอยู่แห่งเดียว ไม่มีโครงสร้างที่แข็งแรงและถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานที่กำหนด การระบายอากาศไม่ดี ทำให้ควันไฟจากการประกอบอาหาร ฟุ้งกระจายภายในตลาด   การระบายน้ำไม่ดี ท่อระบายน้ำอุดตันเนื่องจากเศษอาหาร ทางคณะทำงานได้ขอความร่วมมือให้พ่อค้า แม่ค้า ช่วยกันรักษาความสะอาด รวมทั้งควบคุมการจัดวางแผงขายอาหารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะมากที่สุดเท่าที่สถานที่จะอำนวยได้  ทางเทศบาลจะทำการล้างตลาด 2 ครั้ง / เดือน เพื่อลดปัญหาตลาดสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นอับ มีการตรวจประเมินสารปนเปื้อนในอาหารโดยคณะทำงานเป็นประจำทุกเดือน เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค

               

                จากการสรุปสถานการณ์ด้านอาหารปลอดภัยระหว่างเดือนตุลาคม 2552- มกราคม 2553 นี้ ทางคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ ต่อไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยทางอาหารมากที่สุด



ผู้บันทึก admin เมื่อ Tuesday 16 Mar 10@ 16:09:04 ICT (2396 ครั้ง)
(มีต่อ... | จำนวน: 2)
สรุปสถานการณ์อาหารปลอดภัยระดับอำเภอ 2553
ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล บุคคลทั่วไป บันทึก:

วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านอาหารปลอดภัยของอำเภอราษีไศล

ในปี 2552 ที่ผ่านมา คณะทำงานด้านอาหารปลอดภัยของอำเภอ ได้ดำเนินงานด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการผลักดันให้งานประสบผลสำเร็จ

ปัญหาด้านอาหารปลอดภัย เป็นงานที่กว้างและต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง แม้ในการดำเนินงานในปี 2552 ที่ผ่านมา จะประสบผลสำเร็จแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า ปัญหาด้านอาหารปลอดภัยเป็นงานที่กว้างและต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาทั้งที่ยังไม่ได้แก้ไข และเกิดขึ้นมาใหม่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสถานการณ์ จึงได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านอาหารปลอดภัยในปี 2553 ดังนี้1.ด้านตลาดสดในอำเภอราษีไศล

ตลาดสดในอำเภอราษีไศลเป็นตลาดสดประเภทที่ 2 ซึ่งมีอยู่แห่งเดียว ไม่มีโครงสร้างที่แข็งแรงและถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานที่กำหนด การระบายอากาศไม่ดี ทำให้ควันไฟจากการประกอบอาหาร ฟุ้งกระจายภายในตลาด การระบายน้ำไม่ดี ท่อระบายน้ำอุดตันเนื่องจากเศษอาหาร ทางคณะทำงานได้ขอความร่วมมือให้พ่อค้า แม่ค้า ช่วยกันรักษาความสะอาด รวมทั้งควบคุมการจัดวางแผงขายอาหารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะมากที่สุดเท่าที่สถานที่จะอำนวยได้ เทศบาลจะทำการล้างตลาด 2 ครั้ง / เดือน เพื่อลดปัญหาตลาดสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นอับ และมีการตรวจประเมินสารปนเปื้อนในอาหารโดยคณะทำงานเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค หากพบสิ่งปนเปื้อนในอาหาร จะทำการเตือน และแก้ไขให้อาหารมีความปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค2.ด้านร้าน / แผงลอย อาหารปรุงสำเร็จ

ร้านอาหารปรุงสำเร็จในอำเภอราษีไศลมีจำนวนทั้งหมด 45 ร้าน ซึ่งปัจจุบันผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ( Clean Food Good Taste ) 41 ร้าน คิดเป็น 91.11% แต่ถึงแม้จะได้ป้าย Clean Food Good Taste จากการประเมินแล้วก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาคือ การขาดตกบกพร่องในการรักษามาตรฐานให้ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาวได้ ดังนั้นทางคณะทำงานจึงควรมีขั้นตอนในเชิงปฎิบัติ ควรคู่กับการให้ความรู้ ความตระหนัก ห่วงใยผู้บริโภค ช่วยกระตุ้น และตื่นตัวในการรักษามาตรฐานร้านอาหารต่อไป

3.ด้านอาหารสด

ทุกเดือนฝ่ายเภสัชกรรม จะออกสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดเพื่อตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด ซึ่งผลการตรวจพบว่า อาหารสดทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ( Food safety ) 100% โดยมีการตรวจหาสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และกำจัดศัตรูพืข ในอาหารสดที่วางจำหน่ายในอำเภอ ปัจจุบันคณะทำงานอาหารปลอดภัยได้ออกตรวจสอบสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิดดังกล่าว ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ระดับสารเคมีตกค้างในพืชผักจะไม่เกินปริมาณที่กำหนด แต่เพื่อความปลอดภัยระยะยาว ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการให้ความรู้และผลักดันให้เกษตรกรลดการใช้ยาฆ่าแมลงและลดการตกค้างของสารเคมีในระยะยาว เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตัวเกษตรกรเอง4.ด้านความรู้ของผู้บริโภค

จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการเลือกรับประทานอาหาร ยังคงทานอาหารที่ไม่สะอาด ผิดสุขอนามัย ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษอยู่เป็นระยะ อีกทั้งไม่เข้าใจสิทธิของผู้บริโภค ทำให้เสี่ยงต่อการถูกผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบ 5.ด้านตลาดนัดคลองถม / ตลาดนัดวันเสาร์

มีการขายทั้งอาหารสด และอาหารปรุงสำเร็จ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งยังไม่มีคณะทำงานลงตรวจประเมินถึงความปลอดภัยของอาหาร และผลิตภัณฑ์คุณภาพดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 6.ด้านเครื่องสำอาง

ปัญหาด้านเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยลดน้อยลง แต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยพบว่ามีการจำหน่ายเครื่องสำอางทั้งในร้านขายของชำ ร้านยา และร้านเสริมสวย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจประเมินสารต้องห้ามที่ใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ปรอท โมโนเบนโซน กรดวิตามินเอ และไฮโดรควิโนน รวมทั้งการเก็บและให้คำแนะนำกับเครื่องสำอางที่ตรวจพบสารต้องห้ามดังกล่าว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากที่สุด

7.ด้านผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไม่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้บริโภคได้ นำไปสู่การใช้ที่ผิด เห็นแก่รายได้ และยังพบการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยมาจำหน่ายอีด้วย8.ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วิทยุชุมชน มีการโฆษณาอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง หลอกลวงประชาชน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องน้อยเกินไปหากเทียบกับสื่อดังกล่าว ทำให้ประชาชนจำนวนมากถูกเอาเปรียบ มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนด้านข้อมูลและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับอันตรายหรือใช้จ่ายไปโดยไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ทางคณะทำงานยังขาดแคลนสื่อ และสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนอีกด้วย9.ผู้เกี่ยวข้อง

เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ยังขาดการประสานงาน และทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลุล่วงไปได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากที่สุด เจ้าหน้าที่ทุกคนควรมีความรับผิดชอบและตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการบริโภค เพื่อประชาชนจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ตลอดจนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้

 

แนวทางหรือข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหาในปี 2553

จากการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่ผ่านมาในปี 2552 สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อทำแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาในปี 2553 ได้ ตามลำดับความสำคัญ สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อผู้บริโภคมาก

ทางคณะกรรมการอาหาร พิจารณาจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้ว มีความเห็นสอดคล้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหา ตามลำดับดังนี้

1.ด้านร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ

- พัฒนา ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CFGT

- ปรับปรุง ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ให้รักษามาตรฐาน CFGT ตลอดการประกอบการ อันจะนำมาสิ่งความปลอดภัยของผู้บริโภค

-ให้คำแนะนำ ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ในการประกอบอาหารถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

-กระตุ้นให้ ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ มีแรงจูงใจในการพัฒนาและรักษามาตรฐาน CFGT โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร้านที่ผ่านมาตรฐาน CGFT ทางวิทยุชุมชน พร้อมแจกป้ายไวนิลให้กับร้านดังกล่าวที่ผ่านมาตรฐาน

-มีการตรวจมาตรฐานร้านอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ( ทุก 6 เดือน )

2.ด้านอาหารสด

-แม้อาหารสด จากการรายงาน จะมีความปลอดภัย 100% ไม่มีสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สารเร่งเนื้อแดง ยาฆ่าแมลง ( ในระดับที่ปลอดภัย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตรวจสอบทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ก็มีความจำเป็น เพราะอาหารที่นำมาจำหน่ายมีการผลิตทุกวัน ดังนั้นการตรวจสอบจึงเป็นการเฝ้าระวังอาหารก่อนถึงมือผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

-ในขณะที่น้ำมันทอดซ้ำ ก็เป็นอีกภัยหนึ่งที่คุกคามสุขภาพผู้บริโภคในระยะยาวต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกัน รวมทั้งการให้คำแนะนำในการเลือกและใช้น้ำมันให้มีความปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง มากที่สุด กับผู้ประกอบการด้วย

-ในกรณีที่เป็นผู้จำหน่ายรายใหม่ ควรมีการตรวจสอบอาหารสดเหล่านั้นทันที ก่อนวางจำหน่าย หรือให้เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยไม่ต้องรอเก็บตัวอย่างมาพร้อมกันกันร้านที่จำหน่ายอยู่เดิม

3.ด้านความรู้ผู้บริโภค

-มีการสำรวจความรู้ของผู้บริโภค เพื่อวัดความเข้าใจเบื้องต้น โดยการให้ทำแบบสำรวจ จากนั้นจึงนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขต่อไป

-มีการให้ความรู้กับผู้บริโภค โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชน เป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้องในการรักษาสิทธิ์ของตนเอง และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากผู้จำหน่ายสินค้า / บริการ 4.ด้านตลาดนัดคลองถม / ตลาดนัดวันเสาร์

-นำคณะทำงานลงตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

หากพบว่าไม่ปลอดภัยให้แจ้งผู้จำหน่ายคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงการให้คำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร5.ด้านเครื่องสำอาง

-จัดซื้อชุดทดสอบเครื่องสำอาง เพื่อตรวจหาสารเคมีที่ห้ามใช้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากพบว่าไม่ปลอดภัยให้แจ้งผู้จำหน่าย ให้ระงับการขาย

-ให้ความรู้เรื่องการเลือกเครื่องสำอางที่ปลอดภัยกับผู้ประกอบการ6.ด้านผู้ประกอบการ

-ให้ความรู้ในการพิจารณาสินค้ามาจำหน่าย7.ด้านประชาสัมพันธ์

-มีการจัดรายการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทางวิทยุชุมชน อย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์

โดยจะเป็นการให้ความรู้ ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของอาหารก่อนที่จะเลือกบริโภค รวมไปถึงการติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน8.ผู้เกี่ยวข้อง

-มีส่วนร่วมในการทำงานครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อาหาร

-มีการวางแผนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน

-จัดทำปฎิทินงานตลอดทั้งปี 2553 และแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ

9.ด้านตลาดสด

-ขอความร่วมมือพ่อค้าแม่ค้า ให้ช่วยกันรักษาความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณท่อระบายน้ำ อย่าให้เกิดการอุดตันจากเศษอาหาร เพื่อลดกลิ่นเหม็นอับ และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

-จัดระเบียบการวางขายอาหารใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อสภาพของตลาดให้มากที่สุด ร้านที่ประกอบอาหารที่ทำให้เกิดควัน เช่น ไก่ย่าง ควรจัดตั้งในบริเวณใต้ลม หรือติดตั้งท่อดูดควัน เพื่อลดการรบกวนร้านอื่น และประชาชนที่มาใช้บริการตลาดสด

-เทศบาล ล้างตลาดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

-ตรวจประเมินสารปนเปื้อนในอาหารทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

-ทำทะเบียนผู้ประกอบการ ที่จำหน่ายสินค้าในตลาด ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อควบคุมอาหารให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น




ผู้บันทึก admin เมื่อ Tuesday 16 Mar 10@ 16:08:07 ICT (2674 ครั้ง)
(มีต่อ... | จำนวน: 4.33)
8 เรื่อง (2 หน้า, 5 เรื่องต่อหน้า)
[ 1 | 2 ]
ระบบ NAS รพ.ราษีไศล
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานวิชาการ
แผนจัดซื้อพัสดุ
แผนจัดซื้อพัสดุรวมทุกประเภทปี 2567
แผนจัดซื้อพัสดุรวมทุกประเภทปี 2566
แผนจัดซื้อพัสดุรวมทุกประเภทปี 2565
แผนจัดซื้อพัสดุรวมทุกประเภทปี 2564
แผนจัดซื้อพัสดุรวมทุกประเภทปี 2563
แผนจัดซื้อพัสดุการแพทย์ปี 2562
แผนจัดซื้อพัสดุทันตกรรมปี 2562
แผนจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ ปี 2562
แผนจัดซื้อยาปี 2562

แผนจัดซื้อพัสดุการแพทย์ปี 2561
แผนจัดซื้อพัสดุงานบ้านปี 2561
แผนจัดซื้อยาปี 2561
ฝ่ายการพยาบาล

Nursing Round 2

Nursing Round 1

แผนโรงพยาบาลราษีไศล
1.แผน รพ. 65
2.แผน รพ. 64
3.แผน รพ. 63
4.แผน รพ. 62
5.แผน รพ. 61
6.แผน รพ. 60
7.แผน รพ. 59
8.แผน รพ. 58
9.แผน รพ. 57
10.แผน รพ. 56
แผนปฏิบัติการชมรมจริยธรรม
แผนงาน คปสอ.
รายงานรับจ่ายเงิน ปีงบประมาณ 63
รายงานรับจ่ายเงิน ปีงบประมาณ 62
รายงานรับจ่ายเงิน ปีงบประมาณ 61
CQI คปสอ.
CPG ปัญหาและโรคทั่วไปที่พบบ่อย
แผนเงินบำรุง / สรุป รับ-จ่าย ปีที่ผ่านมา
1.ประมาณการรายรับเงินบำรุง 62
2.ประมาณการรายรับเงินบำรุง 61
3.ประมาณการรายรับเงินบำรุง 60
4.ประมาณการรายรับเงินบำรุง 59
5.ประมาณการรายรับเงินบำรุง 58
ฝ่ายเภสัชกรรม
เรื่องน่ารู้จากฝ่ายทันตกรรม

1. เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก
2. เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก ภาค 2

งานเวชปฎิบัติครอบครัว
1. องค์ประกอบมาตรฐาน  HCA ใหม่
ใบเบิกเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์
1.ใบเบิกเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์
การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ( Context Based Learning )
1. การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
imagespdf.gif
1.Safety Frog Light
รายงานงบการเงินประจำปี
โฮมเพจ เข้าระบบ เผยแพร่ข่าวสาร ดาวน์โหลด ติดต่อเรา สารบัญเว็บ กระดานข่าว ค้นหา ลงโฆษณา ถาม/ตอบ
โรงพยาบาลราษีไศล 164 ม. 14 ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ โทร. 045-681107,045-681235-6 โทรสาร ต่อ 114
ท่านสามารถติดตามข่าวสารโรงพยาบาล โดยคลิกที่ backend.php หรือ ultramode.txt

themes by websurin