บริการ..พิเศษ

   ส่งซ่อมคอมพิวเตอร์ 
   ส่งรายงานให้ รพ.
 เพิ่มประกาศ สอบราคา/-
      ประกวดราคา/TOR

  ส่งบทความเผยแพร
 เพิ่มวาระประชุม กบห.
  เพิ่ม CPG
  เพิ่มเมนูรับ-จ่ายเงินบำรุง

 

ITA (Integrity and Transparency Assessment)

ข้อมูลพื้นฐาน

  ผู้บริหาร - ประวัติโรงพยาบาล
 นโยบายของผู้บริหาร
 โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
    ตามกฏหมายจัดตั้งหรือ
    กฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
 วิสัยทัศน์ - พันธกิจ - ค่านิยม
 ยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยรวม
 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
 ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวง
    สาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการ
    สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    ปี 2560
 อินโฟกราฟิกคณะกรรมการจริยธรรม
ประจำสนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข
    (MOPH Code of Conduct)
 ขั้นตอนการแก้ปัญหาในกรณีที่มี
    การร้องเรียนเรื่องการปฏิบัติงาน
    ของเจ้าหน้าที่
 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวง
    สาธารณสุขว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติงาน
    เพื่อตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงาน
    ด้านการจัดซื้อจัดจ้างปี 2560
  เข็มมุ่ง
  เครื่องชี้วัดคุณภาพ
  ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  คู่มือการบันทึกและวิเคราะห์ความเสี่ยง
 สมุดเยี่ยม-แสดงความคิดเห็น  
  งานสารบรรณ

 

KM

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
ส่งภาพกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น website
Link โรงพยาบาล
 โรงพยาบาลศรีสะเกษ
 โรงพยาบาลกันทรลักษ์
 โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
 โรงพยาบาลขุนหาญ
 โรงพยาบาลขุขันธ์
 โรงพยาบาลไพรบึง
 โรงพยาบาลโนนคูณ
 โรงพยาบาลศรีรัตนะ
 โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง
Link สาธารณสุขอำเภอ

 สสอ.ราษีไศล
 สสอ.ปรางค์กู่
 สสอ.กันทรารมย์
 สสอ.ขุขันธ์
 สสอ.ขุนหาญ
 สสอ.ภูสิงห์
 สสอ.ศิลาลาด

หน่วยงานราชการ

\\ ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ

สรุปผลการปฏิบัติงาน

ข้อมูลทั่วไป

แผนกผู้ป่วยนอก

แผนกผู้ป่วยใน

ห้องคลอดห้อง-ผ่าตัด

report

สรุปสถานการณ์อาหารปลอดภัยระดับอำเภอ 2553
ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล บุคคลทั่วไป บันทึก:

วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านอาหารปลอดภัยของอำเภอราษีไศล

ในปี 2552 ที่ผ่านมา คณะทำงานด้านอาหารปลอดภัยของอำเภอ ได้ดำเนินงานด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการผลักดันให้งานประสบผลสำเร็จ

ปัญหาด้านอาหารปลอดภัย เป็นงานที่กว้างและต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง แม้ในการดำเนินงานในปี 2552 ที่ผ่านมา จะประสบผลสำเร็จแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า ปัญหาด้านอาหารปลอดภัยเป็นงานที่กว้างและต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาทั้งที่ยังไม่ได้แก้ไข และเกิดขึ้นมาใหม่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสถานการณ์ จึงได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านอาหารปลอดภัยในปี 2553 ดังนี้1.ด้านตลาดสดในอำเภอราษีไศล

ตลาดสดในอำเภอราษีไศลเป็นตลาดสดประเภทที่ 2 ซึ่งมีอยู่แห่งเดียว ไม่มีโครงสร้างที่แข็งแรงและถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานที่กำหนด การระบายอากาศไม่ดี ทำให้ควันไฟจากการประกอบอาหาร ฟุ้งกระจายภายในตลาด การระบายน้ำไม่ดี ท่อระบายน้ำอุดตันเนื่องจากเศษอาหาร ทางคณะทำงานได้ขอความร่วมมือให้พ่อค้า แม่ค้า ช่วยกันรักษาความสะอาด รวมทั้งควบคุมการจัดวางแผงขายอาหารให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะมากที่สุดเท่าที่สถานที่จะอำนวยได้ เทศบาลจะทำการล้างตลาด 2 ครั้ง / เดือน เพื่อลดปัญหาตลาดสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นอับ และมีการตรวจประเมินสารปนเปื้อนในอาหารโดยคณะทำงานเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค หากพบสิ่งปนเปื้อนในอาหาร จะทำการเตือน และแก้ไขให้อาหารมีความปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค2.ด้านร้าน / แผงลอย อาหารปรุงสำเร็จ

ร้านอาหารปรุงสำเร็จในอำเภอราษีไศลมีจำนวนทั้งหมด 45 ร้าน ซึ่งปัจจุบันผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ( Clean Food Good Taste ) 41 ร้าน คิดเป็น 91.11% แต่ถึงแม้จะได้ป้าย Clean Food Good Taste จากการประเมินแล้วก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาคือ การขาดตกบกพร่องในการรักษามาตรฐานให้ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาวได้ ดังนั้นทางคณะทำงานจึงควรมีขั้นตอนในเชิงปฎิบัติ ควรคู่กับการให้ความรู้ ความตระหนัก ห่วงใยผู้บริโภค ช่วยกระตุ้น และตื่นตัวในการรักษามาตรฐานร้านอาหารต่อไป

3.ด้านอาหารสด

ทุกเดือนฝ่ายเภสัชกรรม จะออกสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดเพื่อตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด ซึ่งผลการตรวจพบว่า อาหารสดทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ( Food safety ) 100% โดยมีการตรวจหาสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และกำจัดศัตรูพืข ในอาหารสดที่วางจำหน่ายในอำเภอ ปัจจุบันคณะทำงานอาหารปลอดภัยได้ออกตรวจสอบสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิดดังกล่าว ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ระดับสารเคมีตกค้างในพืชผักจะไม่เกินปริมาณที่กำหนด แต่เพื่อความปลอดภัยระยะยาว ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการให้ความรู้และผลักดันให้เกษตรกรลดการใช้ยาฆ่าแมลงและลดการตกค้างของสารเคมีในระยะยาว เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตัวเกษตรกรเอง4.ด้านความรู้ของผู้บริโภค

จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการเลือกรับประทานอาหาร ยังคงทานอาหารที่ไม่สะอาด ผิดสุขอนามัย ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษอยู่เป็นระยะ อีกทั้งไม่เข้าใจสิทธิของผู้บริโภค ทำให้เสี่ยงต่อการถูกผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบ 5.ด้านตลาดนัดคลองถม / ตลาดนัดวันเสาร์

มีการขายทั้งอาหารสด และอาหารปรุงสำเร็จ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งยังไม่มีคณะทำงานลงตรวจประเมินถึงความปลอดภัยของอาหาร และผลิตภัณฑ์คุณภาพดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย 6.ด้านเครื่องสำอาง

ปัญหาด้านเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยลดน้อยลง แต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยพบว่ามีการจำหน่ายเครื่องสำอางทั้งในร้านขายของชำ ร้านยา และร้านเสริมสวย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจประเมินสารต้องห้ามที่ใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ปรอท โมโนเบนโซน กรดวิตามินเอ และไฮโดรควิโนน รวมทั้งการเก็บและให้คำแนะนำกับเครื่องสำอางที่ตรวจพบสารต้องห้ามดังกล่าว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากที่สุด

7.ด้านผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไม่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้บริโภคได้ นำไปสู่การใช้ที่ผิด เห็นแก่รายได้ และยังพบการนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยมาจำหน่ายอีด้วย8.ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วิทยุชุมชน มีการโฆษณาอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง หลอกลวงประชาชน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องน้อยเกินไปหากเทียบกับสื่อดังกล่าว ทำให้ประชาชนจำนวนมากถูกเอาเปรียบ มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนด้านข้อมูลและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับอันตรายหรือใช้จ่ายไปโดยไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ทางคณะทำงานยังขาดแคลนสื่อ และสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนอีกด้วย9.ผู้เกี่ยวข้อง

เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ยังขาดการประสานงาน และทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลุล่วงไปได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากที่สุด เจ้าหน้าที่ทุกคนควรมีความรับผิดชอบและตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการบริโภค เพื่อประชาชนจะได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ตลอดจนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้

 

แนวทางหรือข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหาในปี 2553

จากการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่ผ่านมาในปี 2552 สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อทำแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาในปี 2553 ได้ ตามลำดับความสำคัญ สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบต่อผู้บริโภคมาก

ทางคณะกรรมการอาหาร พิจารณาจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้ว มีความเห็นสอดคล้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหา ตามลำดับดังนี้

1.ด้านร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ

- พัฒนา ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CFGT

- ปรับปรุง ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ให้รักษามาตรฐาน CFGT ตลอดการประกอบการ อันจะนำมาสิ่งความปลอดภัยของผู้บริโภค

-ให้คำแนะนำ ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ ในการประกอบอาหารถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

-กระตุ้นให้ ร้าน / แผงลอย ปรุงอาหารสำเร็จ มีแรงจูงใจในการพัฒนาและรักษามาตรฐาน CFGT โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร้านที่ผ่านมาตรฐาน CGFT ทางวิทยุชุมชน พร้อมแจกป้ายไวนิลให้กับร้านดังกล่าวที่ผ่านมาตรฐาน

-มีการตรวจมาตรฐานร้านอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ( ทุก 6 เดือน )

2.ด้านอาหารสด

-แม้อาหารสด จากการรายงาน จะมีความปลอดภัย 100% ไม่มีสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สารเร่งเนื้อแดง ยาฆ่าแมลง ( ในระดับที่ปลอดภัย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตรวจสอบทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ก็มีความจำเป็น เพราะอาหารที่นำมาจำหน่ายมีการผลิตทุกวัน ดังนั้นการตรวจสอบจึงเป็นการเฝ้าระวังอาหารก่อนถึงมือผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

-ในขณะที่น้ำมันทอดซ้ำ ก็เป็นอีกภัยหนึ่งที่คุกคามสุขภาพผู้บริโภคในระยะยาวต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกัน รวมทั้งการให้คำแนะนำในการเลือกและใช้น้ำมันให้มีความปลอดภัย ไม่ทิ้งสารตกค้าง มากที่สุด กับผู้ประกอบการด้วย

-ในกรณีที่เป็นผู้จำหน่ายรายใหม่ ควรมีการตรวจสอบอาหารสดเหล่านั้นทันที ก่อนวางจำหน่าย หรือให้เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยไม่ต้องรอเก็บตัวอย่างมาพร้อมกันกันร้านที่จำหน่ายอยู่เดิม

3.ด้านความรู้ผู้บริโภค

-มีการสำรวจความรู้ของผู้บริโภค เพื่อวัดความเข้าใจเบื้องต้น โดยการให้ทำแบบสำรวจ จากนั้นจึงนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขต่อไป

-มีการให้ความรู้กับผู้บริโภค โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชน เป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้องในการรักษาสิทธิ์ของตนเอง และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากผู้จำหน่ายสินค้า / บริการ 4.ด้านตลาดนัดคลองถม / ตลาดนัดวันเสาร์

-นำคณะทำงานลงตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

หากพบว่าไม่ปลอดภัยให้แจ้งผู้จำหน่ายคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงการให้คำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร5.ด้านเครื่องสำอาง

-จัดซื้อชุดทดสอบเครื่องสำอาง เพื่อตรวจหาสารเคมีที่ห้ามใช้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากพบว่าไม่ปลอดภัยให้แจ้งผู้จำหน่าย ให้ระงับการขาย

-ให้ความรู้เรื่องการเลือกเครื่องสำอางที่ปลอดภัยกับผู้ประกอบการ6.ด้านผู้ประกอบการ

-ให้ความรู้ในการพิจารณาสินค้ามาจำหน่าย7.ด้านประชาสัมพันธ์

-มีการจัดรายการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทางวิทยุชุมชน อย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์

โดยจะเป็นการให้ความรู้ ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของอาหารก่อนที่จะเลือกบริโภค รวมไปถึงการติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน8.ผู้เกี่ยวข้อง

-มีส่วนร่วมในการทำงานครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อาหาร

-มีการวางแผนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน

-จัดทำปฎิทินงานตลอดทั้งปี 2553 และแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ

9.ด้านตลาดสด

-ขอความร่วมมือพ่อค้าแม่ค้า ให้ช่วยกันรักษาความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณท่อระบายน้ำ อย่าให้เกิดการอุดตันจากเศษอาหาร เพื่อลดกลิ่นเหม็นอับ และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

-จัดระเบียบการวางขายอาหารใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อสภาพของตลาดให้มากที่สุด ร้านที่ประกอบอาหารที่ทำให้เกิดควัน เช่น ไก่ย่าง ควรจัดตั้งในบริเวณใต้ลม หรือติดตั้งท่อดูดควัน เพื่อลดการรบกวนร้านอื่น และประชาชนที่มาใช้บริการตลาดสด

-เทศบาล ล้างตลาดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

-ตรวจประเมินสารปนเปื้อนในอาหารทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

-ทำทะเบียนผู้ประกอบการ ที่จำหน่ายสินค้าในตลาด ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อควบคุมอาหารให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น




ติดประกาศ Tuesday 16 Mar 10@ 16:08:07 ICT โดย admin
 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล
· เสนอข่าวโดย admin


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด ข่าวจากโรงพยาบาลราษีไศล:
สรุปสถานการณ์อาหารปลอดภัยระดับอำเภอ 2553

คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 4.33
จำนวนผู้ลงคะแนน: 3


โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่

ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์

โฮมเพจ เข้าระบบ เผยแพร่ข่าวสาร ดาวน์โหลด ติดต่อเรา สารบัญเว็บ กระดานข่าว ค้นหา ลงโฆษณา ถาม/ตอบ
โรงพยาบาลราษีไศล 164 ม. 14 ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ โทร. 045-681107,045-681235-6 โทรสาร ต่อ 114
ท่านสามารถติดตามข่าวสารโรงพยาบาล โดยคลิกที่ backend.php หรือ ultramode.txt

themes by websurin